ประวัติ - พระติ้ว - พระเทียม                       BACK HOMENEXT


พระติ้ว พระเทียม เป็นพระปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 39 ซม. สูง 60 ซม.แกะสลักด้วยไม้ สร้างเมื่อ พ.ศ.1328 (มีอายุถึง1,207ปี) ในสมัยศรีโคตรบูร เป็นพระคู่บ้านคู่เมือง ตั้งแต่สมัยนั้นเป็นต้นไป ประวัติพระติ้ว พระเทียมนั้น ตามตำนานเล่าว่าในสมัยศรีโคตรบูร ซึ่งมีราชธานีตั้งอยู่สองฝั่งแม่น้ำโขง ระหว่างเทือกเขาหินปูน (ประเทศลาว) และเทือกเขาภูพาน มีเจ้าผู้ครองนครพระนามว่า "พระเจ้าศรีโคตรบูรหลวง" เนื่องจากว่าการคมนาคมในสมัยนั้น ทางบกใช้ช้าง ม้า ล้อ เกวียน เป็นยานพาหนะ ทางน้ำใช้แพ เรือเป็นยานพาหนะ พระเจ้าศรีโคตรบูรหลวง จึงได้รับสั่งให้นายช่างชาวบ้านกองลย (อยู่ในประเทศลาวป ไปดำเนินการ
เมื่อช่างทำเรือจากบ้านกองลยได้ครับคำสั่งแล้วก็ได้ข้ามน้ำของ(แม่น้ำโขง) มาทางตะวันตก เพื่อแสวงหาไม้มาทำเรือ พบไม้แคน (ไม้ตะเคียน) ในดงเซกา (ปัจจุบันคือบ้านนากลาง ต. นาทรายป จึงขุดเป็นรูปเรือกูน แล้วเตรียมชักลากลงสู่ฝั่งน้ำโขง การชักลากในสมัยนั้นต้องใช้ไม้หมอนกลมตัดเป็นท่อน ๆ เป็นลูกล้อหมุนท้องเรือนายช่างจึงให้พลกำลังไปหาไม้หมอนมาหหนุนท้องเรือ ที่ดงติ้ว (ปัจจุบัน บ้านดงติ้ว ต.บ้านกลาง)เมื่อได้มากพอสมควรแล้วจึงใช้ไม้หมอนนั้นหนุนห้องเรือชักลากลงสู่แม่น้ำโขง ตรงท่าน้ำบ้านโพธิ์ (ปัจจุบัน คือ บริเวณหน้าวัดโอกาส อ.เมือง จ.นครพนม) ขณะชักลากเรือนั้น
มีไม้ท่อนหนึ่งกระเด็นออกมาข้างนอกไม่ยอมให้เรือทับเมื่อนำเอาไม้ท่อนนั้นมาใช้เป็นหมอนรองท้องเรืออีกและชักลากเรือครั้งใด ไม้ท่อนนั้นก็กระเด็นออกมาถูกพวกลากเรือเจ็บไปตาม ๆ กัน แม้จะพยายามเท่าไรก็ไม่สำเร็จ แต่ก็สามารชักลากเรือลงแม่น้ำได้สำเร็จ พวกร่างเรือเห็นว่า ไม้ท่อนนั้นเป็นไม้อัศจรรย์ จึงได้กราบทูลเรื่องราวให้พระเจ้าศรีโคตรบูรหลวงทรงทราบ เมื่อพระเจ้าศรีโคตรบูรหลวงทรงพิจารณาแล้วทรงเห็นว่า ไม้ท่อนนี้เป็นพญาไม้ จึงไม่ยอมให้เรือทับ พระองค์โปรดให้นายช่างนำไปแกะเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หน้าตัก กว้าง 30 ซม. สูง 60 ซม. แล้วองค์รักปิดทอง เมื่อจุลศักราชได้ 147 ตัว ปีเป้า ตรงกับวันอังคาร เดือน 7 แรม 8 ค่ำ ปีกุน พ.ศ.1328 โปรดให้มีพิธิพุทธภิเษกสมโภชนเป็นพระพุทธรูปมิ่งบ้านมิ่งเมืองของนครศรีโคตรบูร ต่อมาในสมัยพระเจ้าขัตติยวงศาบุตรมหาฤาชัยไตรทศฤาเดชเชษฐบุรีศรีโคตรบูรหลวง เป็นเจ้าผู้ครองนครศรีโคตรบูร ขณะนั้น
พระติ้วประดิษฐานอยู่วัดธาตุ บ้านสำราญ ครั้งหนึ่งได้เกิดเพลิงไหม้หอพระและวิหารวัดธาตุ ชาวบ้านไม่สามารนำพระติ้วออกมาได้จึงพร้อมกันเข้ากราบทูลรายงานการเกิดเพลิงไหม้หอพระและวิหารวัดธาตุ ให้พระเจ้าขัตติยวงค์ทรงทาบ พระเจ้าขัตติยวงศา ทรงทราบดังนั้น มีรับสั่งให้ในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ที่มีประชาชนเคารพนับถือ มาแกะเป็นองค์พระแทนองค์เดิม ชาวบ้านจึงหาไม้ได้ที่ดอนหอเจ้าปู่ตา ให้ช่างแกะเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดเท่าองค์เดิม ลงรักปิดทองแล้วสมโภชเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองแทนพระติ้ว ที่เข้าใจว่าถูกไฟไหม้ไปแล้ว ครั้ง 2-3 ปีต่อมา ชาวบ้านสำราญจำนวนหนึ่ง ไปทอดแหหาปลากลางน้ำโขง บริเวณหัวดอนโดน ขณะนั้นเกิดลมบ้าหมู (ลมหมุน) ขึ้นกลางแม่น้ำโขง จึงนำเรือไปหอบลมที่หัวดอนพร้อมกับ เฝ้าดูเหตุการณ์ และได้เห็นวัตถุหนึ่งลอยหมุนวนในน้ำที่ถูกลมบ้าหมูพัดเมื่อลมสงบลงจึงพากันออกเรือไปดูและพบว่า วัตถุนั้น คือองค์พระติ้ว ที่เคยสำคัญว่าถูกเพลิงไหม้ไปแล้ว พวกชาวบ้านต่างมีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง จึงอัญเชิญเข้าไปทูลเกล้าถวายพระเจ้าขัตติยวงค์ พระเจ้าขัตติยวงศา ทรงปิติโสมนัสเป็นอย่างยิ่ง จึงมีพระศัรทธาประทานทองคำหนัก 30 บาท ให้ช่างบุทองทั่วทั้งองค์พระ จารึกตัวอักษรธรรมที่ลานเงิน บอกวัน เดือน ปี พร้อมทั้งนามผู้สร้าง รอบเอวองค์พระและได้ประทานนามพระองค์เดิมว่า "พระติ้ว" ประทานนามพระองค์ที่สร้างใหม่ว่า "พระเทียม" พระติ้ว พระเทียม จึงเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองของนครศรีโคตรบูรตลอดเวลา พระติ้ว พระเทียมนี้ เป็นพระคู่บ้านคู่เมืองของนครศรีโคตรบูรหลวง หากมีเหตุโรคภัยเกิดที่บ้านใดเมืองใด เมื่ออัญเชิญไปบ้านนั้นเมืองนั้น เหตุร้ายภัยร้ายทั้งหลายในที่นั้นหายไป ด้วยอำนาจบารมีความศักดิ์ของพระติ้วพระเทียม ดังนั้น พระติ้วพระเทียมจึงเป็นที่เคารพบูชาของประชาชนมาจนถึงบัดนี้ ต่อมาพระบรมราชาพรหมา (พรหมา บุตรเกู่แก้ว) ได้เป็นเจ้าผู้ครองเมืองนครบุรีศรีโคตรบูร มีพระราชศรัทธาบูรณปฏิสังขรณ์สำนักสงฆ์วัดศรีบัวบาน (วัดโอกาส) ขึ้น และได้อัญเชิญพระติ้วพระเทียม ซึ่งเป็นพระคู่เมืองของอาณาจักรศรีโคตรบูรจากบ้านสำราญ มาประดิษฐานที่วัดศรีบัวบาน พ.ศ.2281 และรับส่งให้ชาวบ้านสำราญ เป็น "ข้าโอกาส" คอยปรนนิบัติรักษาพระติ้วพระเทียม พร้อมกับเปลี่ยนนามวัดใหม่จากวัดศรีบัวบานเป็นวัดโอกาส ดังปรากฏอยู่ในปัจจุบัน พระติ้ว พระเทียม จึงประดิษฐานอยู่ทีวัดโอกาสตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา และชาวเมืองนครพนมจะจัดงานนมัสการสรงน้ำพระติ้วพระเทียม ในวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 6 คำบูชาพระติ้ว-พระเทียม ยะถาคะหิเตหิ สักกาเรหิ อิมัง พุทธปะฏิมัง อะภิปูชะยามิ ยะถิจฉิตัง เม อะธิกัจฉะตุ สัพพะทา หิตายะ เจวะ สุขาวะ สุขายะ นิพพานัสสะ สังวัตตะตุฯ


เมืองนครพนม I  ประวัติวัดโอกาส(ศรีบัวบาน) I  ประวัติพระติ้ว พรเทียม I  จมื่นรักษษราษฎร I  พระเจ้าเสลา I  ประวัติอดีตเจ้าอาวาสวัดโอกาส I  ประวัติผู้จัดทำ I